วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานรัก ดอกอาจิไซ

       ตำนาน ความรักระหว่างซีโบลด์และโอทากิ....
      เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างซีโบลด์และโอทากิเริ่มต้นที่บริเวณเดจิม่า ในเขตนางาซากิ ย้อนไป ๔๐๐ กว่าปี สมัยญี่ปุ่นยังคงปิดประเทศไม่ทำการค้ากับต่างชาติ แต่เปิดเมืองท่าไม่กี่แห่งให้คนต่างชาติทำการค้ากับญี่ปุ่น ที่เมืองนางาซากิเป็นบริเวณที่คนต่างชาติตั้งรกรากทำการค้าแลกเปลี่ยนกับ ญี่ปุ่น
       ดร. นพ.ฟอน ฟิลิปป์ ซีโบลด์เป็นนายแพทย์ชาวเยอรมันที่เดินทางมากับกองเรือพาณิชย์อีสอินเดีย เมื่อมาถึงเมืองท่านางาซากิ ดร.นพ.ซีโบลด์ฟอน มีหน้าที่เป็นแพทย์รักษาโรคให้กับชาวเมืองนางาซากิ ซีโบลด์นำความรู้แพทย์แผนใหม่เข้ามาเผยแพร่ให้แก่ญี่ปุ่น เขาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการผ่าตัดให้แก่คนญี่ปุ่น เขาเปิดโรงเรียนแพทย์ในนางาซากิ


     ในเขตนางาซากิปกติจะไม่อนุญาตให้คนญี่ปุ่นเข้าไป แต่ก็มีบางคนที่ได้รับอนุญาตให้สามารถเข้าไปได้ แต่ไม่กี่คน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ โอทากิ โอทากิเป็นหญิงสาวญี่ปุ่น เธอเข้ามาดูแลบ้านพักของบรรดาคนต่างชาติ และแล้วก็มีเหตุผลให้โอทากิได้รู้จักกับซีโบลด์ โอทากิพาซีโบลด์ไปเดินเที่ยวยังที่ต่างๆในเมืองนางาซากิ แล้วความรักก็ค่อยๆก่อตัวขึ้นระหว่างคนทั้งสอง


       ครั้งหนึ่งซีโบลด์นำสตอร์เบอร์รี่ของเยอรมันให้โอทากิลองทานดู...โอทากิไม่ เคยทานสตอร์เบอร์รี่มาก่อน ในอดีตญี่ปุ่นไม่มีต้นสตอร์เบอร์รี่ โอทากิชื่นชอบในรสชาติความอร่อยของสตอร์เบอร์รี่ที่ได้ทาน
        ภายหลังจากที่คบหากัน....ในที่สุดโอทากิก็แต่งงานกับซีโบลด์มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อ อิเนะ 
        ซีโบลด์นอกเหนือจากเป็นนายแพทย์แล้ว ตัวเขาชื่นชมในพฤกษศาสตร์ เขาวาดภาพต้นไม้ ดอกไม้ต่างๆที่เขาเจอในญี่ปุ่น เขาทำการทดลองเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ ซีโบลด์สนใจในภูมิประเทศญี่ปุ่น เขาจ้างวานให้คนเขียนแผนที่ประเทศญี่ปุ่นให้....แต่แล้วเคราะห์กรรมก็มา เยือน เมื่อเรือที่เขาเดินทางเกิดล่ม สิ่งของที่บรรทุกมาลอยไปเกยชายหาด หีบใบหนึ่งของซีโบลด์ถูกเปิดฝาออกและพบภาพแผนที่ญี่ปุ่นที่ซีโบลด์ได้จ้าง นายช่างวาดเอาไว้ เรื่องรู้ไปถึงสำนักพระราชวัง การที่ซีโบลด์วาดภาพแผนที่ญี่ปุ่นถือว่าซีโบลด์กระทำความผิดร้ายแรงตาม กฎหมายของญี่ปุ่น ซีโบลด์โดนตั้งข้อหาว่าเป็นสายลับที่มาค้นหาความลับของญี่ปุ่นให้ข้าศึกภาย นอก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงมีคำสั่งให้เนรเทศซีโบลด์ออกจากประเทศญี่ปุ่น
       ซีโบลด์เก็บข้าวของและจำใจต้องพลัดพรากจากภรรยาและลูกสาว ซีโบลด์นำกระถางต้นไม้ที่บรรจุต้นอาจิไซไปด้วย ทุกครั้งที่มองดอกอาจิไซ....ซีโบลด์ก็ระลึกถึง "โอทากิ" ภรรยาของตนที่ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น ตลอดทางที่เรือเดินสมุทรที่ออกเดินทางจากญี่ปุ่นไปยุโรป...ซีโบลด์ได้เขียน จดหมายพรรณาถึงความโศกเศร้าที่ต้องพลัดพรากกับภรรยาและลูกน้อย ซีโบลด์ได้เพาะพันธุ์ดอกอาจิไซสายพันธุ์ใหม่แล้วตั้งชื่อว่า "โอทักขุสะ" ในภาษาฮอลแลนด์ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นก็คือ "โอทากิ" ชื่อของ   ภรรยาที่ซีโบลด์สุดแสนรัก โอทากิมองว่า....ในชีวิตนี้เธอคงไม่มีโอกาสที่จะได้เจอซีโบลด์อีกแล้ว เธอจึงเขียนจดหมายถึงซีโบลด์ ให้ซีโบลด์ลืมเรื่องของเธอเถิดแล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ในยุโรป
       เมื่อซีโบลด์ได้อ่านจดหมายฉบับนี้ถึงกับตกใจและเสียใจที่โอทากิได้ขอเลิก.....
    เหตุการณ์ผ่านไปอีกหลายปี....ทั้งซีโบลด์และโอทากิต่างก็แต่งงานมีครอบครัว ใหม่ ซีโบลด์มีบุตรหลายคนกับแคทเธอรีน ในขณะที่โอทากิไม่มีบุตรกับสามีใหม่แล้วกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศภายหลังจาก ที่เปอรี่ได้นำกองทัพเรือมาปิดอ่าวเอโดะและเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ
       ๓๖ ปีที่ซีโบลด์จากญี่ปุ่นไป....ถึงเวลาที่ซีโบลด์มีโอกาสได้เดินทางกลับมา เยือนญี่ปุ่นอีกครั้ง ซีโบลด์เดินทางมาญี่ปุ่นพร้อมอเล็กซานเดอร์บุตรชาย ซีโบลด์มีโอกาสได้เจอโอทากิและอิเนะลูกสาวซึ่งตั้งใจจะเป็นแพทย์ตามอย่างพ่อ ซึ่งอิเนะไปศึกษาโรงเรียนแพทย์สมัยใหม่ในนางาซากิและสุดท้ายเป็นแพทย์หญิง สำหรับวิชาแพทย์แผนใหม่คนแรกในประเทศญี่ปุ่น


        แม้ว่าซีโบลด์จะได้กลับมาพบกับโอทากิใหม่....ความรู้สึกดีๆระหว่างกันยังคง มีอยู่.....แต่ด้วยพันธะของครอบครัวที่ตอนนี้ต่างคนต่างมี คนทั้งสองจึงไม่สามารถจะกลับมาครองรักกันได้อีก 
ซีโบลด์เดินทางกลับไปประเทศเนเธอร์แลนด์และในช่วงชุดท้ายของชีวิต...ซีโบลด์เขียนข้อความเอาไว้ว่า

ภายหลังจากฉันเสียชีวิตลงแล้ว..
อยากโบยบินไปยังดินแดนที่สงบและสวยงามที่ฉันเคยใช้ชีวิตอยู่.....
   อีกมุมนึงของโลก...ก่อนที่โอทากิจะเสียชีวิตลง ..ความอร่อยของสตอร์เบอร์รี่นับตั้งแต่เธอเคยสัมผัสเป็นครั้งแรกเมื่อซี โบลด์ให้เธอลองทาน เธอไม่เคยลืม....เธอจึงขอทานสตอร์เบอร์รี่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนอำลาโลก...
ดอกอาจิไซสัญลักษณ์ของความรักที่ซีโบลด์มีต่อภรรยาแสนรักของเขา "โอทากิ"

ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cheevaprapha&date=16-06-2010&group=3&gblog=27


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น